“กลิ่นดอกไม้ใบตองสด บรรยากาศความคึกคักของหาบเร่แผงลอยดอกไม้แบบบ้านๆ ในวันวานได้จางหายไป พร้อมกับเสน่ห์รถเข็นดอกไม้ที่คอยวิ่งไล่ผู้สัญจรให้หลบหลีกทาง เคล้ากลิ่นมะลิคลุ้งฉุนเตะจมูกแม้ยามหลับตาก็รู้ว่าเราผ่านมายังปากคลองตลาด ก็คงเหลือแต่ความทรงจำ”

Yesterday จึงนำเอาร่มแม่ค้าแผงลอยมาประดับด้วยดอกไม้หลากสีสัน จัดวางสร้างบรรยากาศให้ชวนนึกถึงย่านปากคลองตลาดที่เคยคึกคักในอดีต ตลอดระยะเวลา 9 วัน จำนวนร่มและดอกไม้ จะค่อยๆ ลดลง เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้ความคึกคักของปากคลองตลาดค่อยๆหายไป สีสันของดอกไม้และแสงไฟในยามกลางคืนจึงสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตย่านปากคลองที่จางหายไป เป็น “ความทรงจำ” ใน “วันวาน” ที่เราเลือกหยิบมาเล่าและนำพาภาพของอดีตหวนคืนกลับมา


**ผลงานศิลปะของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากรายวิชาสถาปัตยกรรมชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ได้แรงบันดาลใจจากปากคลองตลาดในมิติต่าง ๆ สะท้อนออกมาเป็นงานออกแบบที่มีอัตลักษณ์ของความเป็นถิ่นที่**

นักออกแบบ: กวินธิดา เจริญศรี I น้ำหนึ่ง สินธพอาชากุล I แพรวรุ่ง ไตรณรงค์สกุล I รุจิรา ปั้นหยัด I สหรัฐ คาระวานนท์ I อธิติญา พนัส I ภูริช โอวรกุล I กมนนัทธ์ ดวงดี I ลัทธวัฒน์ ธัญภัคลือพงค์


The Smelly, The bustle and nostalgic life in Pak Klong Town has disappeared for so long And the smell of the flower will restore the old Pak Klong feeling but nowadays just leave us good old memories. “Yesterday” will be a form of installation art by using the element from the existing element. the merchant decorates using the flower spread around the market and manages the space to communicate in the way of the old Pak Klong atmosphere. The old atmosphere gradually faded and the night period reflects the way of living By using the memories to improve the quality of Pak Klong's life be back again.


A collection of 6 Pak Khlong Talat-inspired art installations by 2nd year students of the Community Architecture module, Faculty of Architecture, Silapakorn University. Each of the work narrates a sense of place and have even been positioned throughout neighbourhood.